สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
อัตราสมาธิสั้นของในประเทศไทยเราจะพบจะพบอยู่ที่ประมาณ 5-8% แต่ในทื้นที่ส่วนใหญ๋ของประเทศยังถูกมองข้ามยังไม่มีใครเหลียวแล ดังนั้นโดยภาพรวมเด็กที่เป็นสมาธิสั้นส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและยังไม่ได้รับการรักษาเท่าที่ควรจะได้รับ
อาการของโรคสมาธิสั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก อาการขาดสมาธิ เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการขาดสมาธิ ทำอะไรแปบๆก็จะรู้สึกเบื่อ
กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มอาการไฮเปอร์อยู่ไม่นิ่ง เด็กที่นั่งติดที่ไม่ได้ ก็อาจจะชอบลุกเดิน หรือวิ่งไปๆมาๆ
กลุ่มที่สาม กล่มอาการพุนพันพลันแล่น วุ่วาม จพชอบพูดแทรกโพลงพลาง อดทนรอคอยไม่ได้และมักจะชอบแซงคิว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนอายุ 12 ปี
พ่อแม่รู้สึกว่าเป็นกังวลมากเมื่อลูกเป็นโรคสมาธิสั้น เพราะว่าส่วนใหญ่เด็กที่สมาธิสั้นมักจะเล่นกับเพื่อนไม่เป็นเหมือนว่าจะชอบแกล้งเพื่อน ก็ตัดสินใจมาปรึกษาคุณหมอ และคุณหมอบอกว่าจริงๆแล้วไม่ได้แกล้งเพื่อนแต่เป็นเพราะไม่รู้น้ำหนักมือตัวเอง โดยโรคสมาธิสั้นสามารถเริ่มสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่วัยเล็กๆเลย พ่อแม่บางคนสามารถเห็นได้ตั้งแต่ 1-2 ขวบ หรือบางคนหนักกว่านั้นสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อยู่ในท้องเลยว่าทำไมเตะถีบรุนแรงบ่อยเหลือเกิน แต่โดยมากจะบอกได้ด้วยความมั่นใจว่าเด็กคนไหนเป็นสมาธิสั้นหรือไม่เป็นก็ต่อเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนอายุ 3 ขวบขึ้นไปก็จะพอบอกได้
การรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นนี้อันดับแรกคือ ด้านการใช้ยา การปรับพฤติกรรม และการปรับสิ่งแวดล้อม โดยเด็กที่เป็นโรคสมิสั้นอาการยังไม่แสดงออกมาเป็นเล็กน้อยอาจจะยังไม่ต้องถึงขั้นรับประทานยา อาจจะแค่ปรับสิ่งแวดล้อมและปรับการเลี้ยงดู แต่เด็กสมาธิสั้นที่เป็นอาการค่อนข้างรุนแรงขึ้นมาเด็กกลุ่มนี้ก็ควรที่จะรับการรักษาด้วยยา พอพูดถึงเรื่องการใช้ยาพ่อแม่หลายคนก็จะกังวลกลัวว่ายาที่ทานเข้าไปแล้วมันจะไปกดสมองเด็กหรือเปล่า จะไปบีบสมองเด็กหรือเปล่า เพราะว่าเด็กที่ซนๆพอกินยาไปแล้วจะนิ่ง ด้วยความเข้าใจของคนทั่วไปยาจะต้องเข้าไปกดสมองไว้แน่ๆ โดยความเป็นจริงแล้วกลไกการออกฤทธิ์ของยา คือยามันจะเข้าไปกระตุ้นสมองให้ผลิตสารสื่อประสาทให้สมองหลั่งออกมาดีขึ้น สารสื่อประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนกับเบรกให้กับร่างกายของเด็ก เพราะฉะนั้นยาออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองไม่ใช่ไปกดสมอง