Sunday, December 03, 2023
อาการสะอึกของเด็กทารก เรื่องร้อนใจของพ่อแม่ที่ดูแลได้
คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ พัฒนาการเด็ก สุขภาพ อาหารสำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ โรคเด็ก

อาการสะอึกของเด็กทารก เรื่องร้อนใจของพ่อแม่ที่ดูแลได้

               หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ มือใหม่มักจะมีปัญหาวิตกกังวลต่อลูกน้อย เมื่อไหร่ที่ลูกน้อยมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ ก็สร้างความเครียดให้แก่คุณพ่อคุณแม่ได้ทั้งนั้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยก็เป็นได้ ในส่วนของปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในทารกแต่ไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่อะไร นั่นคือ อาการสะอึกของเด็กทารก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะรับมือกับปัญหานี้ได้ยากเพราะ กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อลูกน้อย หรืออาจจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายได้ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้ถึงสาเหตุและ วิธีการแก้เรื่องการสะอึกก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

อาการสะอึกของเด็กทารก เป็นเรื่องปกติ

อาการสะอึกของเด็กทารกเป็นเรื่องปกติ

               ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการสะอึกของเด็กทารก เป็นเรื่องปกติที่เกิดได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน เด็กเล็กหรือ ผู้ใหญ่ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มักจะใช้เวลาสักพักก็จะหายไปเอง ส่วนในเด็กทารกมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากกินนมเสร็จใหม่ๆ เพราะกระเพาะของเด็กจะขยายทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกระบังลมของเด็กตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและ ช่องท้องเกิดเป็นเสียงของกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออกจึงทำให้ทารกสะอึกได้

อาการสะอึกของเด็กทารก แก้ไข้ได้

               สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเพื่อป้องอาการสะอึกของเด็กทารกและ ควรทำเมื่อเกิดการสะอึกมีดังนี้

ทุกครั้งหลังจากที่ให้ลูกน้อยดื่มนม ควรตบหลังเบาๆ หรือวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้อง เพื่อให้ลูกน้อยเรอ จะได้ไม่เกิดลมในช่องท้องไปดันกระบังลม

อุ้มลูกน้อยพาดบ่าแล้วลูบหลังเบาๆ พร้อมกับเดินไปมาลูกน้อยจะได้เรอ ซึ่งจะช่วยให้น้ำนมลงสู่กระเพาะได้เร็วและดีขึ้น

ประคองลูกน้อยให้นั่งบนตักโดยหลังตรง แต่เอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ลูบหลังจากเอวขึ้นมาถึงช่วงท้ายทอยไปด้วยเป็นการไล่ลม จะช่วยได้ดีที่สุด

ให้ลูกน้อยดูดนมแม้ หรือดูดนมจากขวด โดยห้ามดื่มน้ำเด็ดขาดเพราะยังเป็นทารก

โดยปกติแล้ว อาการสะอึกของเด็กทารก มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4-5 เดือน อาการสะอึกของทารกก็จะลดลง และหายไปเองในที่สุด ดังนั้นเมื่อลูกน้อยสะอึกก็ลองทำตามขั้นตอนด้านบนซึ่งจะช่วยเรื่องการสะอึกได้ หากว่าทำแล้วยังไม่หายสะอึก ยังมีอาการหนักอยู่ก็ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่ามีอาการผิดปกติของร่างกายหรือไม่ ถ้าหากผิดปกติก็จะได้รักษาทันท่วงที หากไม่มีความผิดปกติคุณพ่อ คุณแม่ก็จะได้สบายใจ ไม่วิตกกังวลจนเกิดอาการเครียดต่อตนเองและลูกน้อย

ติดตามบทความ แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก โรคเด็ก  ได้ที่นี้

โรคโคลิค ลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด สิ่งที่คุณแม่ควรรู้ว่าต้องทำอย่างไร

Back To Top