โรควิตกกังวลในเด็ก มีความคล้ายคลึงกับโรควิตกกังวลในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียนจนกระทั่งผู้ใหญ่วัยทำงาน มีหลายสาเหตุที่ส่งผลให้ตกอยู่ในสภาวะวิตกกังวล เครียดและซึมเศร้ากับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ประเทศไทยพบสถิติของคนที่เข้ารับการรักษาโรคนี้ตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสนและค่อยๆ เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ซึ่งโรคนี้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านการเรียนและการทำงานในอนาคต
ทำความรู้จัก โรควิตกกังวลในเด็ก
โรควิตกกังวลในเด็ก คือ อาการหรือความคิดที่กลัวบางสิ่งบางอย่างล่วงหน้า มีความกังวลในเชิงลบ ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดคิดได้ เด็กบางคนอาจจะประสบพบเจอการถูกข่มขู่หรือการพูดย้ำซ้ำๆ หลายครั้งจากพ่อแม่หรือครูที่โรงเรียน ส่งผลให้เด็กเกิดความกลัวสิ่งนั้น บางคนเกิดความกลัวตั้งแต่เด็กจนกระทั่งโต เช่น เด็กบางคนกลัวเข็มฉีดยา กลัวหมอ กลัวสอบตก เป็นต้น ความกลัว ความวิตกกังวลลักษณะนี้ มักจะมีหลายสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม
โรควิตกกังวลในเด็ก ส่วนมากพบอยู่ 2 โรค นั่นคือ 1. โรควิตกกังวลทั่วไป โรคนี้มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก เป็นความวิตกกังวลในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เด็กอาจจะมีความวิตกกังวลในเรื่องการเรียน การสอบ และ 2. โรคกลัวการเข้าสังคม ความกลัวส่งผลให้เด็กต้องปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน ไม่มีความกล้าแสดงออกและไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเด็กนั้นมาจากอายุและวัย การเรียน ครอบครัว และเพื่อน เด็กบางคนอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง ส่งผลให้เด็กมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิและไม่อยากไปโรงเรียน

โรควิตกกังวลในเด็ก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเด็กและผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก ทางการแพทย์มีวิธีรักษาโรคนี้โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ของเด็ก พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญในการเลี้ยงดู โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียน ทำให้เด็กรู้สึกถึงความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวและความมั่นคงจากพ่อแม่ ทั้งนี้พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กลองผิด ลองถูกด้วยตนเอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่มีความวิตกกังวลในบางสถานการณ์ที่มากเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้เด็กได้รับความวิตกกังวลตามไปด้วย
ติดตามบทความ แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก โรคเด็ก เรื่องน่ารู้ ได้ที่นี้
แนะนำ 5 สัญญาณเตือน บอกว่า ลูกกำลังมีปัญหา ที่พ่อแม่สังเกตได้