ไม่มีใครอยากป่วยแน่นอน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องดูแลให้นมบุตร คุณแม่ให้นมควรตระหนักเสมอว่าสุขภาพของตนเองในช่วงนี้คือทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับลูกน้อย แต่ในเมื่อเกิดป่วยขึ้นมาแล้วก็ต้องพยายามปฏิบัติตนในการรักษาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอาการป่วยบางอย่างซึ่งต้องใช้ ยาปฏิชีวนะ ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่เสมอ

การทาน ยาปฏิชีวนะ ขณะที่ยังให้นมบุตร มีผลอย่างไรบ้าง
นอกเหนือจากความกังวลเกี่ยวกับที่ว่า ยาปฏิชีวนะ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกแล้ว ยังมีข้อกังวลอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะโดยคุณแม่ที่ยังให้นมบุตร เพราะยาปฏิชีวนะมีหลักการทำงานโดยการฆ่าแบคทีเรียในร่างกายของคุณแม่ ทั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอันตราย และแบคทีเรียที่ดี ด้วยเหตุนี้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทั้งแม่และเด็ก

ยาปฏิชีวนะ ชนิดใดที่ปลอดภัย
มักจะพิจารณาเป็นกรณีไปโดยขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของกุมารแพทย์ อายุ น้ำหนัก และสุขภาพโดยรวมของทารก อย่างไรก็ตามยาปฏิชีวนะที่ถือว่าปลอดภัยสำหรับสตรีให้นมบุตรและมีขายตามร้านขายยา ได้แก่
Penicillins เช่น Amoxicillin และ Ampicillin
Cephalosporins เช่น Cephalexin (Keflex)
Fluconazole (Diflucan) เป็นยาต้านจุลชีพทั่วไปที่ใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อรา
อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาเภสัชกรและกุมารแพทย์เสมอ

สิ่งที่ควรปรึกษาหากแพทย์กำลังสั่งยาปฏิชีวนะให้คุณ
แจ้งอายุรแพทย์ว่าคุณให้นมบุตร ต้องปรึกษากุมารแพทย์
ถามว่ายานี้ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่
ถามว่ามีผลข้างเคียงที่ลูกของคุณอาจพบหรือไม่
ถามว่าคุณควรให้โปรไบโอติกกับลูกน้อยหรือไม่
ถามว่ามียาปฏิชีวนะทางเลือกสำหรับแม่ให้นมบุตรหรือไม่
ถามว่าหากทานยาปฏิชีวนะในปริมาณที่น้อยลงยังสามารถรักษาโรคได้หรือไม่
ถามว่าคุณต้องใช้ยานานแค่ไหนในการรักษา

จะเป็นอย่างไรถ้าคุณต้องทานยาปฏิชีวนะขณะให้นมบุตร
ลูกของคุณอาจปวดท้องและงอแง เป็นเพราะ ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้ของทารกหมดไป ทำให้ท้องอืด อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงลักษณะนี้ถือว่าไม่น่ากังวลจนเกินไป เพราะร่างกายมีกลไกที่สร้างใหม่อยู่เสมอ สิ่งที่ควรกังวลคือหากลูกปวดท้องมากผิดปกติ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที ระหว่างที่คุณอาจต้องหยุดให้นมบุตรในช่วงทานยาปฏิชีวนะ ควรปั๊มน้ำนมทิ้งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยค้างเต้านมไว้
แม้ว่ายา ปฏิชีวนะ จะไม่ค่อยดีต่อช่วงให้นมบุตร ทว่าคุณแม่ก็ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไปหากป่วยแล้วต้องรักษาด้วยวิธีนี้ จำเอาไว้เสมอว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรรีบรักษาตัวให้หายจะได้หยุดยา แล้วมีสุขภาพแข็งแรงในการกลับมาเลี้ยงลูกน้อยอีกครั้ง และควรขอทางเลือกอื่นจากแพทย์เสมอ แจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วน อย่ากลัวที่จะสอบถาม เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น
ติดตามบทความ แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก โรคเด็ก ได้ที่นี้
แนะนำ 3 เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมแม่ เพื่อที่จะให้ลูกน้อย ได้มีน้ำนมทาน อย่างเพียงพอ
ขอบคุณ การสนับสนุนจาก ufabet777 ที่แบ่งปันข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ แม่และเด็ก ให้กับเว็บไซต์ของเรา