พ่อแม่มักเข้าใจว่าการลงโทษลูกที่ได้ผล ลูกต้องเจ็บตัวระดับหนึ่งถึงจะจำและไม่ทำอีก แต่ความจริงที่ลูกจำก็คือความเจ็บตัวและเจ็บใจที่ถูกพ่อแม่ลงโทษไม่ว่าเขาจะผิดจริงๆ ก็ตาม ซึ่งอาจตามมาด้วยการ (แอบ) ทำผิดซ้ำๆ อีก หากพ่อแม่ไม่รู้เขาจะรู้สึกว่าประสบความสำเร็จ ดังนั้นการ ลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เลือกวิธี ลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี ลงโทษลูกโดยการแจกดินสอ… เป็นวิธีลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี ที่เหมาะกับลูกที่พอจะเขียนหนังสือได้ (หรือหากเป็นลูกเล็กก็อาจให้เขาวาดรูปแล้วบรรยายรายละเอียดให้ฟัง) วิธีการคือให้ลูกเขียนเรียงความถึงปัญหาหรือความผิดของเขาลงในกระดาษ ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้ – การเขียนช่วยเบี่ยงเบนอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจพ่อแม่ที่ต่อว่าเขา ทำให้ลูกสงบเร็วขึ้น – ลูกได้ระบายความรู้สึกที่แท้จริงออกมา ได้ทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจสถานการณ์มากขึ้น เมื่อพ่อแม่อ่านก็เข้าใจลูกอีกทาง – การเขียนอาจทำให้ลูกค้นพบวิธีแก้ไขความผิดพลาดด้วยตนเอง ลงโทษลูกโดยการยึดแต้ม วิธีลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี นี้เหมาะกับลูกเล็กที่ (ยัง) สามารถหลอกล่อด้วยแต้ม ดาว หรือสิ่งสมมติแทนรางวัลเมื่อลูกทำตัวน่ารัก ซึ่งพ่อแม่อาจนำการยึดแต้มมาลงโทษลูกได้ในเวลาที่เขาไม่เชื่อฟัง ซึ่งวิธีลงโทษลูกเช่นนี้นอกจากจะไม่เจ็บตัวแล้วยังสนุกด้วย เพราะเด็กส่วนใหญ่ชอบการแข่งขัน เขาจะขยันทำตัวดีและหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษด้วยการตัดแต้ม อาจหลอกล่อลูกด้วยคำพูดเหล่านี้ – “หากหนูยังแกล้งน้องอีก แม่ขอยึดดาวคืนดวงนึงนะคะ” – “พ่อไม่อยากตัดแต้มของลูกคืน แต่จำเป็นต้องทำเพราะวันนี้ลูกไม่ยอมทำการบ้านนะครับ” ลงโทษลูกโดยการสร้างความรับผิดชอบ ลูกที่ซนจัด หาทำจนได้เรื่อง เช่น เตะบอลมาถูกข้าวของเสียหาย หากการทำความสะอาดไม่อันตรายพ่อแม่ต้องถือคติว่าใครทำใครรับผิดชอบ […]
Tag: การลงโทษลูก
อ่านตรงนี้ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะ ลงโทษลูกด้วยการตี อีกต่อไปหรือไม่?
ใครที่กำลังคิดว่าจะ ลงโทษลูกด้วยการตี ดีไหมนะ? หรือใครที่ตีลูกบ่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน (ของตัวเอง) อาจต้องหยุดคิดสักนิดหากมั่นใจว่ารักลูกจริงครับ… เหตุผลที่การ ลงโทษลูกด้วยการตี บางทีก็ไม่เวิร์กนะ! พ่อแม่ตีลูก ผิดกฎหมาย รู้หรือไม่ว่าการ ลงโทษลูกด้วยการตี ตีลูกที่เกินความเหมาะสม ใช้ความรุนแรงจนทำให้ได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ พ่อแม่ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย นอกเหนือไปจากการทำให้เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเองต้องหวาดกลัว หวาดระแวงคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่แท้ๆ ครับ ดังจะเห็นได้จากข่าวพ่อแม่ตีลูก โหดในปัจจุบัน การตีลูกเล็กเกินไป ลูกเล็กไม่กี่ขวบย่อมเด็กเกินกว่าที่จะเข้าใจเหตุผลที่ละเอียดซับซ้อนว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่จะฝังใจและจดจำความรุนแรงที่ถูกกระทำเสียมากกว่า จึงไม่ควรลงโทษลูกด้วยการตี ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ลูกเข้าใจผิด เด็กหลายคนเข้าใจว่าการตีลูก = การไม่รักลูก ยิ่งพ่อแม่ตีลูกรุนแรง ลูกยิ่งเจ็บก็ยิ่งไม่เข้าใจในความรักที่พ่อแม่มีมหาศาลแต่แสดงออกไม่เป็น… ลูกเก็บกด เด็กเก็บกดอันตรายกว่าเด็กก้าวร้าวมากครับ ลูกที่โดนพ่อตี โดนแม่ตีเป็นประจำ แต่ทำตัวสวนทางคือเชื่อฟังเวลาอยู่บ้าน ก็อาจทำตัวแย่หากมีอิสระเมื่ออยู่นอกบ้าน ลูกรู้สึกไร้ค่า เชื่อแน่ว่าเวลาที่พ่อแม่ ลงโทษลูกด้วยการตี นอกเหนือจากเรี่ยวแรงที่ลงไปกับการตีแล้ว ย่อมมีน้ำคำที่ทำให้ลูกรู้สึกไร้ค่าว่าตัวเขาเป็นลูกที่ไม่ดี ทำให้พ่อแม่เสียใจ ทำให้พ่อแม่ต้องอับอาย ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณอยากบอกลูกจริงไหมครับ? ตีลูกบ่อยไป (ลูก) ก็เคยชิน มีเด็กหลายคนเลือกที่จะถูกพ่อแม่ตีเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ เพราะเขาเรียนรู้ว่าหากอยากได้สิ่งใดซึ่งไม่ถูกใจพ่อแม่ ก็แค่แลกกับการถูกตีไม่กี่ทีเท่านั้น! ลูกเลี่ยงการถูกตี ไม่มีเด็กคนไหนอยากโดนพ่อตี […]
วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด ไม่ใช่ลงโทษลูกด้วยการตี แบบเก่าๆ อีกต่อไป
นอกเหนือจากการลงโทษด้วยการตีลูกเล็กที่พ่อแม่หลายคนนิยมทำแล้ว การลงโทษลูกเล็กแบบอื่นซึ่งไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัว ไม่สร้างความเจ็บใจ และยังเป็น วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด ก็น่าจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่พ่อแม่รุ่นใหม่ใคร่หันมาสนใจกันครับ เปลี่ยนวิธีการตีลูกเล็ก มาใช้ วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด เมินเฉย วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดประการแรกที่พ่อแม่ทำง่ายแต่ได้ผลชะงัด โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ที่ชอบร้องไห้และอาละวาดคือการเมินเฉย ไม่ให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมของเขา เขาก็จะค่อยๆ สงบลงเอง เมื่อถึงเวลานี้พ่อแม่จึงเข้าไปพูดคุยด้วยดี ชวนทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องโอ๋หรือขอโทษ แต่มีข้อแม้คือพ่อแม่ต้องทำเป็นไม่สนใจ แต่ให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา ต้องมั่นใจว่าลูกปลอดภัยและไม่หายไปไหน หากเขาแผลงฤทธิ์นอกสถานที่ครับ… แยกวง หรือ Time out เป็นวิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดเป็นการแยกลูกให้อยู่ตามลำพังคนเดียว ไม่ใช่การลงโทษลูกด้วยการตีซึ่งเป็นวิธีที่ลูกเล็กมักไม่เข้าใจ ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้ผลดีตั้งแต่ลูกเล็กไม่กี่ขวบไปจนถึง 10 ปีทีเดียว เป็นการทำให้เขาสงบสติอารมณ์ลงและ วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดด้วยการทบทวนการกระทำเมื่อครู่ของตัวเอง มีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้ครับ แจ้งล่วงหน้า อันดับแรกพ่อแม่ต้องแจ้งให้ลูกทราบล่วงหน้าก่อนว่าเขาจะถูกลงโทษด้วยวิธีนี้ เช่น “เมื่อหนูเอาของเล่นปาแม่ หนูจะต้องหยุดทำแล้วไปนั่งที่เก้าอี้ตัวนี้” (หรือไปยืนอยู่ที่มุมห้อง หรือให้อยู่ที่เดิมแต่เก็บของเล่นหรือของกินของเขาออกไปให้หมด) แนะนำว่ามุมลงโทษลูกควรเป็นมุมสงบที่ปราศจากโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ที่สำคัญห้ามขังเขาในห้องน้ำหรือห้องเก็บของที่มืดและเล็กครับ เพราะจะทำให้เขาหวาดกลัว ไม่ต่างอะไรจากการลงโทษลูกด้วยการตีครับ กำหนดเวลา วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดเกี่ยวข้องกับเวลาเป็นตัวกำหนด ซึ่งพ่อแม่ต้องแจ้งเวลาที่ลูกจะถูกลงโทษให้ชัดเจน โดยไม่ควรเกิน 10 นาที หากเกินกว่านี้ลูกอาจทรมานเกินไป แนะนำใช้สูตรง่ายๆ […]
คิดให้ดีว่าจะเลือก วิธีลงโทษลูก ด้วยการตี หรือ ใช้วิธีสอนลูก เมื่อลูกทำผิด
เมื่อลูกทำผิดหรือลูกทำผิดไม่ยอมขอโทษมี วิธีลงโทษลูก อย่างมากมาย แต่วิธีไหนที่จะเหมาะสมที่สุดและไม่เกินขอบเขตการลงโทษที่พ่อแม่ควรทำล่ะ? วิธีลงโทษลูก ที่ถูกต้อง ต้องเป็นอย่างไร วิธีลงโทษลูกด้วยการดุด่า วิธีลงโทษลูก ด้วยการดุด่าว่ากล่าวด้วยอารมณ์รุนแรง ไม่ว่าจะด้วยถ้อยคำสุภาพหรือหยาบคายก็ตาม แต่เป็นไปในทางลบ รวมถึงการใช้กำลังลงโทษลูกด้วยการตีซึ่งทำให้ลูกเจ็บตัว (และเจ็บใจ) ข้อดีของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีเรียบง่ายที่ทำให้ลูกหยุดพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทันทีทันใด ข้อเสียของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ การลงโทษลูกด้วยการตี เด็กหลายคนอาจไม่เข้าใจความหวังดีที่มาพร้อมกับไม้เรียว อาจตีความว่าพ่อแม่ไม่รักได้ เป็นการปลูกฝังค่านิยมใช้ความรุนแรงภายในบ้าน อาจได้ผลดีในระยะสั้น แต่ระยะยาวเด็กบางคนอาจเกิดความเคยชิน เหมือนการดื้อยานั่นเอง วิธีลงโทษลูกด้วยการสอนลูก วิธีลงโทษลูก ด้วยการสอนลูก เมื่อลูกทำผิดโดยใช้สิ่งที่ลูกชอบมาเป็นตัวประกัน เพื่อลดหรืองดสิ่งนั้นๆ โดยมีเวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ลดหรืองดการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ลดหรืองดการโทรศัพท์ ลดหรืองดการเล่นนอกบ้าน ลดหรืองดการกินของว่าง ข้อดีของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีทั้งเด็กเล็กและเด็กโต เป็นวิธี สอนลูก เมื่อลูกทำผิดให้เขาค่อยๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจในความถูกผิดด้วยตนเอง เป็นการปลูกฝังเรื่องของความรับผิดชอบให้ลูก ทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าทำกล้ารับและสามารถขอโทษเป็น ข้อเสียของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธี สอนลูก เมื่อลูกทำผิดที่ได้ผลดีในระยะยาว แต่ให้ผลช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นความอดทนและมีระเบียบวินัยของพ่อแม่คือตัวแปรที่สำคัญครับ ทั้ง 2 วิธีลงโทษลูก ที่เราได้นำมาแนะนำในวันนี้ ล้วนก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อย่างไร คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านก็ […]
5 วิธีลงโทษลูก ลบระบบการใช้ไม้เรียว โดยที่ไม่ต้องลงไม้ลงมือ
หมดยุคไปแล้วกับการเลี้ยงลูกด้วยไม้เรียว ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าการเลี้ยงลูกในแบบที่พ่อแม่จะต้องมีการลงโทษลูกด้วยการตีนั่นหมายถึงพ่อแม่รักลูกมากๆ แต่ในปัจจุบันกลับแสดงถึงความรุนแรงที่พ่อแม่มอบให้กลับลูก จึงทำให้ต้องหา วิธีลงโทษลูก โดยไม่ต้องลงไม้ลงมือ และยังสามารถจะสอนให้ลูกเป็นคนที่มีเหตุผลได้อีกด้วย แนะนำ 5 วิธีลงโทษลูก โดยไม่ต้องใช้ไม้เรียว ใช้เวลาเป็นตัวช่วยให้อารมณ์ผ่อนคลาย คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงจะประสบปัญหาแบบนี้บ่อยพอสมควร สิ่งที่จะทำให้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น คือการถอยออกมาเพื่อให้อารมณ์ผ่อนคลายจากความตึงเครียดก่อน เมื่อดีขึ้นแล้วจึงค่อยๆมาอธิบายและพูดคุยกับลูก ให้ลูกงดกิจกรรมต่างๆที่ชอบ และให้ไปทำการบ้านแทน หรือการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็น วิธีลงโทษลูก ที่จะแก้ไขเรื่องการใช้ความรุนแรงได้ดีที่สุด การลงโทษด้วยการให้ลูกเขียนหนังสือ ถ้าหากลูกทำพฤติกรรมต่างๆที่ไม่ค่อยจะเหมาะสมสักเท่าไร อาจจะลงโทษด้วยวิธีการให้คัดลายมือ หรือเขียนคำขอโทษ และเหตุผลหรือข้อตกลงว่าจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก นอกจากจะได้ผลดีทางด้านพัฒนาการแล้วยังไม่ต้องใช้ความรุนแรงด้วย ลงโทษโดยการให้ลูกทำงานบ้านเพิ่มจากเดิม เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่น โกรธและมีอารมณ์ฉุนเฉียวเอาแต่ใจ เพื่อจะให้ลูกได้มีเวลาระงับสติ ก็ไห้ไปทำงานบ้าน อย่างเช่น การรดน้ำต้นไม้ ล้างจาน หรือการนำรองเท้านักเรียนมาซัก นอกจากจะช่วยให้ลูกได้รู้จักควบคุมอารมณ์ ยังได้ประโยชน์จากการทำงานบ้านและลดความรุนแรงได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น วิธีลงโทษลูก ในลักษณะใดๆก็ตาม ในที่นี้ไม่รวมถึงการใช้ไม้เรียว หรือความรุนแรง จะต้องมีการพูดคุยกับลูก มีข้อตกลง กำหนดระยะเวลาเพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ติดตามผล ของพฤติกรรมนั้นๆว่าลูกได้พยายามเปลี่ยนและปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ในการพูดคุยแต่ละครั้งจะต้องอธิบาย แสดงถึงความรักความห่วงใยต่อลูก ติดตามบทความ การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก พัฒนาการเด็ก โรคเด็ก เรื่องน่ารู้ ได้ที่นี้ แนะนำ จิตวิทยาการเลี้ยงลูก สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทุกๆท่านควรมี […]
วิธีการรับมือ ลูกเอาแต่ใจ
การเลี้ยงลูก ยังไง วิธีรับมือกับลูก ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจ เคยได้ยินประโยชน์นี่จากผู้พูดที่เป็นทั้งในส่วนของพ่อ และผู้พูดที่เป็นในส่วนของแม่ การเลี้ยงลูกก็ขึ้นอยู่กับการดูแลให้ความรัก และในเรื่องของความเอาใจใส่ เด็กในช่วงอายุ 3- 5 ปีจะมีในเรื่องของช่างพูด ช่างสังเกตและในเรื่องของการเรียกร้องความสนใจหรือต้องการให้คนสนใจตลอดเวลา ก็ขึ้นอยู่กับเด็ก บางคนก็เป็นคนที่พูดไม่เก่งไม่ค่อยพูด ไม่กล้าที่จะพูด ขี้อาย ซึ่งนิสัยของลูกก็มาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ทั้งนั้น วิธีรับมือกับความเอาแต่ใจของลูก ให้อยู่หมัด ซึ่งตัวเราเองก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกเช่นกัน ว่าลูกต้องการอะไร วิธีการรับมือเมื่อลูกเอาแต่ใจ วิธีรับมือกับความเอาแต่ใจของลูก อย่างแรก คือ หาเหตุและผล เป็นที่รู้กันว่าเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เราต้องเข้าใจว่าลูกต้องการอะไร ทำไมถึงเอาแต่ใจ คำตอบส่วนใหญ่เกิดจากการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ หรือให้เวลาที่เป็นเวลาครอบครัวน้อยเกินไป เราต้องการความรักหรือการเอาใจใส่จากพ่อแม่ จึงทำให้เกิดการเรียกร้องความสนใจเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันพ่อแม่มีที่ไม่มีเวลาก็จะเลี้ยงลูกโดยมีพี่เลี้ยง และตามใจเพราะคิดว่าเมื่อไม่มีเวลาก็ขอทดแทนให้ลูกได้ในสิ่งของที่ต้องการ วิธีการรับมือกับความเอาแต่ใจของลูก อย่างที่สอง คือ ค่อย ๆ ปรับแก้ ทุกอย่างมีทางออกเสมอ เมื่อลูกเอาแต่ใจ เราลองปรับในเรื่องของการมีเวลาอยู่กับลูก ทำกิจกรรมกับลูกมากขึ้น และพยายามลดในสิ่งที่เคยตามใจและคุยกับลูกด้วยเหตุผล เมื่อลูกงอแงที่จะเอาหรือต้องการ เราก็ต้องคุยกัน ไม่พยายามไม่ตามใจลูกจนติดเป็นนิสัย วิธีการรับมือกับความเอาแต่ใจของลูก อย่างที่สาม คือ ไม่แสดงอาการหงุดหงิดหรือไม่พอใจเมื่อลูกมีอาการงอแง ควรไม่แสดงอาการทางลบเพราะอาจจะทำให้เป็นเรื่องของการฝังใจเด็ก […]