Sunday, December 03, 2023
คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ เรื่องน่ารู้

วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด ไม่ใช่ลงโทษลูกด้วยการตี แบบเก่าๆ อีกต่อไป

นอกเหนือจากการลงโทษด้วยการตีลูกเล็กที่พ่อแม่หลายคนนิยมทำแล้ว  การลงโทษลูกเล็กแบบอื่นซึ่งไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัว  ไม่สร้างความเจ็บใจ  และยังเป็น วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด  ก็น่าจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่พ่อแม่รุ่นใหม่ใคร่หันมาสนใจกันครับ เปลี่ยนวิธีการตีลูกเล็ก  มาใช้ วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิด เมินเฉย วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดประการแรกที่พ่อแม่ทำง่ายแต่ได้ผลชะงัด  โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ที่ชอบร้องไห้และอาละวาดคือการเมินเฉย  ไม่ให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมของเขา  เขาก็จะค่อยๆ สงบลงเอง  เมื่อถึงเวลานี้พ่อแม่จึงเข้าไปพูดคุยด้วยดี  ชวนทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ  โดยไม่จำเป็นต้องโอ๋หรือขอโทษ แต่มีข้อแม้คือพ่อแม่ต้องทำเป็นไม่สนใจ  แต่ให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา  ต้องมั่นใจว่าลูกปลอดภัยและไม่หายไปไหน  หากเขาแผลงฤทธิ์นอกสถานที่ครับ… แยกวง หรือ  Time  out  เป็นวิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดเป็นการแยกลูกให้อยู่ตามลำพังคนเดียว  ไม่ใช่การลงโทษลูกด้วยการตีซึ่งเป็นวิธีที่ลูกเล็กมักไม่เข้าใจ  ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้ผลดีตั้งแต่ลูกเล็กไม่กี่ขวบไปจนถึง  10  ปีทีเดียว  เป็นการทำให้เขาสงบสติอารมณ์ลงและ วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดด้วยการทบทวนการกระทำเมื่อครู่ของตัวเอง มีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้ครับ แจ้งล่วงหน้า อันดับแรกพ่อแม่ต้องแจ้งให้ลูกทราบล่วงหน้าก่อนว่าเขาจะถูกลงโทษด้วยวิธีนี้  เช่น  “เมื่อหนูเอาของเล่นปาแม่  หนูจะต้องหยุดทำแล้วไปนั่งที่เก้าอี้ตัวนี้”  (หรือไปยืนอยู่ที่มุมห้อง  หรือให้อยู่ที่เดิมแต่เก็บของเล่นหรือของกินของเขาออกไปให้หมด) แนะนำว่ามุมลงโทษลูกควรเป็นมุมสงบที่ปราศจากโทรทัศน์  วิทยุ  คอมพิวเตอร์  ที่สำคัญห้ามขังเขาในห้องน้ำหรือห้องเก็บของที่มืดและเล็กครับ  เพราะจะทำให้เขาหวาดกลัว  ไม่ต่างอะไรจากการลงโทษลูกด้วยการตีครับ กำหนดเวลา วิธีสอนลูกเมื่อลูกทำผิดเกี่ยวข้องกับเวลาเป็นตัวกำหนด  ซึ่งพ่อแม่ต้องแจ้งเวลาที่ลูกจะถูกลงโทษให้ชัดเจน  โดยไม่ควรเกิน  10  นาที  หากเกินกว่านี้ลูกอาจทรมานเกินไป  แนะนำใช้สูตรง่ายๆ […]

Read More
คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ สุขภาพ เรื่องน่ารู้

คิดให้ดีว่าจะเลือก วิธีลงโทษลูก ด้วยการตี หรือ ใช้วิธีสอนลูก เมื่อลูกทำผิด

เมื่อลูกทำผิดหรือลูกทำผิดไม่ยอมขอโทษมี วิธีลงโทษลูก อย่างมากมาย  แต่วิธีไหนที่จะเหมาะสมที่สุดและไม่เกินขอบเขตการลงโทษที่พ่อแม่ควรทำล่ะ?    วิธีลงโทษลูก ที่ถูกต้อง ต้องเป็นอย่างไร วิธีลงโทษลูกด้วยการดุด่า วิธีลงโทษลูก ด้วยการดุด่าว่ากล่าวด้วยอารมณ์รุนแรง  ไม่ว่าจะด้วยถ้อยคำสุภาพหรือหยาบคายก็ตาม  แต่เป็นไปในทางลบ  รวมถึงการใช้กำลังลงโทษลูกด้วยการตีซึ่งทำให้ลูกเจ็บตัว  (และเจ็บใจ) ข้อดีของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีเรียบง่ายที่ทำให้ลูกหยุดพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทันทีทันใด ข้อเสียของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ การลงโทษลูกด้วยการตี  เด็กหลายคนอาจไม่เข้าใจความหวังดีที่มาพร้อมกับไม้เรียว  อาจตีความว่าพ่อแม่ไม่รักได้ เป็นการปลูกฝังค่านิยมใช้ความรุนแรงภายในบ้าน อาจได้ผลดีในระยะสั้น  แต่ระยะยาวเด็กบางคนอาจเกิดความเคยชิน  เหมือนการดื้อยานั่นเอง วิธีลงโทษลูกด้วยการสอนลูก วิธีลงโทษลูก ด้วยการสอนลูก  เมื่อลูกทำผิดโดยใช้สิ่งที่ลูกชอบมาเป็นตัวประกัน  เพื่อลดหรืองดสิ่งนั้นๆ โดยมีเวลาเป็นตัวกำหนด  เช่น ลดหรืองดการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ลดหรืองดการโทรศัพท์ ลดหรืองดการเล่นนอกบ้าน ลดหรืองดการกินของว่าง ข้อดีของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีทั้งเด็กเล็กและเด็กโต เป็นวิธี  สอนลูก  เมื่อลูกทำผิดให้เขาค่อยๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจในความถูกผิดด้วยตนเอง เป็นการปลูกฝังเรื่องของความรับผิดชอบให้ลูก  ทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าทำกล้ารับและสามารถขอโทษเป็น ข้อเสียของการลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ เป็นวิธี  สอนลูก  เมื่อลูกทำผิดที่ได้ผลดีในระยะยาว  แต่ให้ผลช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป  ดังนั้นความอดทนและมีระเบียบวินัยของพ่อแม่คือตัวแปรที่สำคัญครับ ทั้ง 2 วิธีลงโทษลูก ที่เราได้นำมาแนะนำในวันนี้ ล้วนก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อย่างไร คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านก็ […]

Read More
คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ เรื่องน่ารู้

วิธีสอนลูกให้เป็นคนดี เลี้ยงง่าย ไม่ก้าวร้าว อยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข

หากพ่อแม่คนไหนกำลังประสบปัญหาลูกดื้อ ก้าวร้าว ต้องนำ วิธีสอนลูกให้เป็นคนดี ที่เราจะแนะนำเหล่านี้ไปใช้ ด้วยความใส่ใจและใจเย็น ไม่นานเกินรอก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของลูกเล็กครับ วิธีสอนลูกให้เป็นคนดี ไม่ให้ก้าวร้าว ไม่เป็นลูกดื้อเอาแต่ใจ ทำให้พ่อแม่มีความสุข ใจเย็นเข้าไว้ เมื่อลูกก้าวร้าวคนเป็นพ่อแม่ต้องใจเย็นและไม่เพิกเฉยต่อพฤติกรรมนี้ สังเกตว่าเขาต้องการสื่อสารอะไร หาสาเหตุที่ทำให้ลูกดื้อ  ก้าวร้าว  จิตวิทยา วิธีสอนลูกให้เป็นคนดี อันดับแรกคือต้องหาสาเหตุที่แท้จริงว่าอะไรทำให้ลูกดื้อ  ก้าวร้าว  เช่น ลูกอยู่ในช่วงโกรธหรือเศร้าเสียใจบางอย่าง มีปัญหาที่โรงเรียนแล้วลงกับพ่อแม่ ต้องการความรักความใส่ใจมากขึ้น เช่น พ่อแม่มีน้องใหม่ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ พูดคุยสอบถามเขาเพื่อหาสาเหตุที่ลูกดื้อ ก้าวร้าว สร้างความเชื่อมั่นว่ารักเขามากด้วยการบอกรักและกอดเป็นประจำ ที่สำคัญคือการสังเกตทัศนคติและคำพูดของเขาว่า เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมหรือไม่ ใช้การพูดที่ดี วิธีสอนลูกให้เป็นคนดีไม่ก้าวร้าว ต้องใช้การพูดที่ดีซึ่งไพเราะน่าฟัง ไม่ตะคอกด้วยอารมณ์ที่อาจง่ายในการปรามลูกให้หยุดแต่ส่งผลเสียระยะยาว เพราะพ่อแม่ไม่อาจปรามลูกได้ทุกที่ตลอด  24 ชม. ให้ใช้วิธีการดังนี้ครับ ลูกด้วยสายตาที่มีเมตตา ไม่แสดงความโกรธหรือขุ่นเคือง เรียกชื่อเล่นของลูกด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ไม่ดุดัน ควรย่อตัวลงมาให้สูงเท่าลูกขณะที่พูดด้วย เป็นจิตวิทยา สอนลูกที่สำคัญ ใช้คำพูดง่ายๆ ให้ลูกเข้าใจโดยอาจบอกทางป้องกันและแก้ไข เช่น กรณีที่ลูกเล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บให้เรียบร้อย พ่อแม่อาจพูดว่า  “ของเล่นที่อยู่บนพื้น ลูกควรเก็บลงกล่องนะจ๊ะ  ใครจะได้ไม่เดินเหยียบ” ทำข้อตกลงร่วมกัน วิธีสอนลูกให้เป็นคนดีไม่ให้ก้าวร้าว ให้เชื่อฟัง ไม่ใช่การคาดโทษลูกว่าถ้าไม่ทำจะโดนตี  ถ้าทำอย่างนั้นอย่างนี้จะไม่รัก แต่เป็นการให้ข้อเสนอเพื่อทำข้อตกลงร่วมกันกับลูกว่า  ถ้าทำสิ่งนั้นสิ่งนี้จะได้รับในบางสิ่ง เช่น ถ้าลูกกลับจากโรงเรียนแล้วรีบอาบน้ำ พ่อแม่จะเล่านิทานก่อนนอนให้ฟัง     พ่อแม่คือแบบอย่างที่ดี พ่อแม่ที่ก้าวร้าวย่อมสอนลูกให้เป็นเด็กดีเชื่อฟังได้ยาก  ลูกดื้อเอาแต่ใจก็เพราะเห็นพ่อแม่ทำให้เห็นซ้ำๆ จนเป็นความเคยชิน  แต่เกิดคำถามในใจว่าทำไมพ่อแม่ทำได้  ส่วนเขาทำไม่ได้  เป็นชนวนที่ทำให้ลูกไม่อยากเชื่อฟัง  ไม่ว่าจะมีผลดีกับเขาแค่ไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ ทุกๆ […]

Read More
กิจกรรมเด็ก คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ พัฒนาการเด็ก เรื่องน่ารู้

วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูก เปลี่ยนลูกขี้อาย ให้กลายเป็นคนกล้าแสดงออก

ทำอย่างไรดี  เมื่อลูกไม่กล้าแสดงออก  ลูกขี้อาย  เข้าสังคมไม่ได้? วันนี้ มาฝึก ลูกไม่กล้าแสดงออก ให้เป็นคนกล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร  สามารถเข้าสังคมได้  เพื่ออนาคตที่ดีของเขากันครับ กับ วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูก ทำไมต้องฝึกให้ลูกกล้าแสดงออกด้วย ทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง  นับถือตัวเอง  ที่สำคัญคือตระหนักในคุณค่าของตัวเองทำให้ลูกอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  เป็นที่รักของผู้อื่นทำให้ลูกเข้าใจว่าอะไรควรกล้า  อะไรไม่ควรกล้า วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูก เพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างมีคุณภาพ รับฟังอย่างตั้งใจ วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูกเมื่อลูกไม่กล้าแสดงออก  พ่อแม่อาจสอบถามสาเหตุและรับฟังอย่างตั้งใจเพื่อแสดงความจริงใจ  ใส่ใจ  ทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและอาจพูดความในใจที่พ่อแม่นึกไม่ถึง  ที่สำคัญต้องไม่ตั้งป้อมว่าพ่อแม่ถูกต้องเสมอ  เพราะเด็กทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเองครับ สร้างความมั่นใจง่ายๆ วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูกการที่พ่อแม่คอยทำนู่นนี่นั่นให้ลูกไปเสียหมด  นอกจากจะทำให้เขาทำอะไรไม่เป็น  ต้องคอยพึ่งพาพ่อแม่แล้ว  ยังเป็นการเพาะบ่มพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกให้ลูกรู้สึกว่า  ตัวเขาไม่เก่ง  ทำอะไรไม่เป็น  สู้คนอื่นไม่ได้แนะนำพ่อแม่ให้ปล่อยลูกทำกิจกรรมในส่วนของเขาด้วยตัวเองครับ  ได้แก่ –  ให้ลูกกินอาหารเอง –  ให้ลูกอาบน้ำเอง  โดยไม่ต้องใส่กลอนเพื่อความปลอดภัย –  ให้ลูกเลือกเสื้อผ้าและแต่งตัวเอง             สร้างสถานการณ์จำลอง วิธีเพิ่มความกล้าให้ลูกพ่อแม่อาจใช้การสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อลดพฤติกรรมลูกขี้อาย  เข้าสังคมไม่ได้  ดังนี้ครับ –  การเล่านิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกภายนอกและผู้คนในแง่ดี –  การยกตัวอย่างสถานการณ์จำลองแล้วถามคำถามลูกว่า  หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นเช่นนี้ลูกจะพูดอะไรหรือทำอะไร  เป็นวิธีเพิ่มความกล้าในการพูดและแสดงออก ทำกิจกรรมใหม่ๆ […]

Read More
กิจกรรมเด็ก คุณแม่มือใหม่ พัฒนาการเด็ก เรื่องน่ารู้

ทักษะการเข้าสังคม ของลูกเล็ก สอนลูกให้ อยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข

ถึงจะเป็นลูกเล็กไม่กี่ขวบ  แต่ก็ต้องอยู่ในสังคมนอกเหนือจากบ้าน  ดังนั้นพ่อแม่ควรฝึก ทักษะการเข้าสังคม  เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและมีความสุขแก่เขาต่อไปครับ  ทักษะการเข้าสังคม แบบพื้นฐาน  ที่พ่อแม่สามารถปลุกฝังให้ลูกได้ สอนลูกไหว้ เป็น ทักษะการเข้าสังคม อย่างแรกที่พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกไหว้ผู้ใหญ่เป็น  ไหว้อย่างสวยงามอ่อนช้อย ใช้คำพูดที่เหมาะสม   “ครับ”  หรือ  “ค่ะ”  บอกลูกว่าเป็นคำลงท้ายที่น่าฟัง  ควรใช้กับทุกคน  “สวัสดีครับ”  หรือ  “สวัสดีค่ะ”  บอกลูกว่าสำหรับทักทายหรือแสดงความเคารพนับถือผู้อื่น   “ขอบคุณครับ”  หรือ  “ขอบคุณค่ะ”  บอกลูกว่าสำหรับแสดงความซึ้งใจในน้ำใจหรือความกรุณาของผู้อื่น “ขอโทษครับ”  หรือ  “ขอโทษค่ะ”  บอกลูกว่าสำหรับแสดงความรับผิดชอบและแสดงความเสียใจ  เมื่อเขารบกวนหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สอนให้รู้จักฟัง      พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักเป็นผู้ฟังที่ดี  ไม่แย่งผู้อื่นพูด  ไม่พูดแซง  ไม่พูดขัด สอนให้แบ่งปันเป็น      ทักษะการเข้าสังคม ที่ไม่สอนไม่ได้ก็คือ  การสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นในสังคมบ้างตามสมควร  โดยอาจเริ่มจากสังคมเล็กๆของเขาก่อน  เช่น  เพื่อนบ้าน  ห้องเรียน  จากนั้นค่อยๆ ขยายการแบ่งปันไปสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้นครับ กล้าที่จะเสนอตัว      ควรสอนให้ลูกรู้จักเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จะได้ไม่มีปัญหาลูกไม่เข้าสังคม  ลูกเข้าสังคมไม่เป็น  […]

Read More
Back To Top