เมื่อลูกเอาแต่ใจตัวเองจนไม่รู้จักคำว่ารอ เชื่อว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายๆครอบครัวเลยทีเดียว ช่วงอายุ 2-3 ขวบจะเอาแต่ใจอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาการตามวัยและความเป็นตัวตนของตัวเอง โดยทำตามความต้องการของตนเอง สาวนการอบรมเลี้ยงดูก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง แต่เด็กจะยึดตัวเองและทำอะไรตามใจตัวเอง และเด็กบางคนก็จะต่อต้านไม่ทำตามคำสั่ง สรุปแล้วเกิดจากปัจจัยตัวของเด็กเองหรือเด็กบางคนอาจจะมีพื้นฐานที่เรียกว่าเด็กไฮเปอร์ สมาธิสั้น หรืออดทนรออะไรนานๆไม่ได้ เด็กจะเบื่อง่าย และมีอาการเอาแต่ใจ ซึ่งพ่อแม่หลายท่านก็ยังไม่เข้าใจในตัวเด็ก โดยใช้การตัดสินใจ และไม่เข้าใจว่าเด็กผิดปกติในเรื่องอะไรเองว่าเด็กอะไรนิสัยไม่ดีรออะไรแปบเดียวก็ไม่ได้ แต่เด็กที่สมาธิสั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับสมองส่วนที่ช่วยยับยั้งชั่งใจ ควบคุมตนเอง ให้รออะไรนานๆได้หรืออดทนกับการทำอะไรต่างๆได้ โดยสมองส่วนนี้ทำงานได้ไม่ค่อยดีนักเลยทำให้เด็กมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่ตามใจ ส่งผลให้เด็ดเอาแต่ใจ โดยที่พ่อแม่บางคนไม่รู้ตัวว่าแบบไหนที่ควบคุมลูกมากเกินไปหรือแบบไหนเรียกว่าตามใจแล้ว โดยแต่ละครอบครัวมีกฎเกณฑ์และมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นในช่วงที่ลูกอายุประมาณ 1 ขวบแล้วเริ่มฟังและสื่อสารภาษาได้บ้างแล้ว หรือรู้ภาษาแล้ว เป็นวัยที่ค่อยๆบอกค่อยสอนๆให้รู่ว่าบางอย่างได้ บางอย่างไม่ได้ หรือบางอย่างได้แต่อาจจะต้องรอ โดยเป็นการฝึกในวัยที่เหมาะสม โดยใช้เหตุผลและกฎเกณฑ์เข้ามาสอนลูก เช่น จะซื้อของเล่นก็ใช้การสอนว่าอันนี้มีแล้ว เคยซื้อแล้ว คล้ายๆกับของเล่นชิ้นนั้นที่มี ขนมบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์ พ่อแม่ก็ต้องไม่ซื้อให้เลย โดยทำการตกลง ลูกจะค่อยๆเรียนรู้และปรับตัวซึมซับไปได้เอง โดยคำพูดของพ่อแม่มีความมั่นคง และพ่อแม่ต้องพูดอย่างเด็ดขาด เพียงไม่นานลูกก็จะเข้าใจสิ่งที่ทำมากขึ้น เพราะเด็กถ้ามีอะไรที่สนุกกว่าน่าสนใจกว่าเราก็สามารถที่จะเบี่ยงเบนไป เพราะเด็กความคิดก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ง่าย ถ้ายังไม่เปลี่ยนและหนีออกจากสิ่งที่เด็กอยากได้ก็คงจะยาก แต่ถ้าเราพาไปที่อื่นและพาทำอะไรที่ใหม่และสนุกกว่าก็สามารถเบี่ยงแบนความสนใจได้ ซักพักเด็กก็ลืมสิ่งที่อยากได้แล้ว