Thursday, June 08, 2023
คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ พัฒนาการเด็ก สุขภาพ เรื่องน่ารู้ โรคเด็ก

โรคสมาธิสั้น จะสามารถเช็คอย่างไร ว่าลูกน้อย ที่บ้านของเรา เป็นหรือไม่

พ่อแม่ย่อมปรารถนาให้ลูกสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ  แต่หากลูกมีอาการผิดปกติและกำลังสงสัยว่าลูกที่บ้านเป็น โรคสมาธิสั้น หรือไม่  ก็ต้องรีบเช็กเบื้องต้นตามนี้ค่ะ โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร โรคสมาธิสั้น หรือเรียกง่ายๆ ว่า  ADHD  (หลายคนเรียกเด็กที่เป็นโรคนี้ว่าเด็กไฮเปอร์)  เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีหรือสารสื่อนำประสาทในสมอง  ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของร่างกายหลายส่วน  อาทิ  สมาธิ  ความจำ  การตัดสินใจ  การคิดคำนวณ  การวางแผน  ความยับยั้งชั่งใจ  รวมถึงพฤติกรรม ส่งผลให้เด็กแสดงความผิดปกติออกมา  มีผลเสียต่อชีวิตโดยตรงทั้งการดำเนินชีวิต  การเรียน  การเข้าสังคม  และจากสถิติพบว่าเด็กไทยเป็นโรคสมาธิสั้นสูงถึง  5 – 10%  (เกิดกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง  4  เท่า)      นอกจากนี้โรคสมาธิสั้นมีด้วยกัน  3  ประเภท  ได้แก่ 1.  อาการขาดสมาธิ  (ไม่มีสมาธิ  ขี้หลงขี้ลืม)  2.  อาการซนผิดปกติ  (ไม่สามารถอยู่นิ่งได้) 3.  อาการใจร้อนวู่วาม  (ทำสิ่งต่างๆ อย่างหุนหันพลันแล่น)  อาการที่บ่งบอกว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น      ให้คุณเช็กว่าลูกมีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่  มากน้อยแค่ไหน  (ไม่ควรเกิน  6  อาการ) […]

Read More
กิจกรรมเด็ก คุณแม่มือใหม่ ปัญหาและวิธีการแกไข้ พัฒนาการเด็ก สุขภาพ เรื่องน่ารู้ โรคเด็ก

โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องของสมอง ในวัยเด็ก ภัยเงียบ ที่พ่อแม่ควรรู้

               จากผลการสำรวจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่ามีเด็กเกิด โรคสมาธิสั้น ในกลุ่มอายุน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่เริ่มมีการเรียนรู้และสื่อสารได้เลยทีเดียว และถ้าสุ่มตรวจห้องเรียนสักห้องหนึ่ง ก็จะต้องพบเด็กที่ไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้นานพอ อย่างน้อยที่สุดประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แถมยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยสื่อของยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างเร็ว ดึงความสนใจอยู่ตลอดเวลา จึงเหมือนเป็นการฝึกให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าไม่ได้เลย ทำความรู้จัก โรคสมาธิสั้น ในวัยเด็ก                โรคสมาธิสั้น เป็นความบกพร่องที่เชื่อมโยงกับระบบการทำงานของสมอง การควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจและการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสาเหตุมาจากความสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ ความจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งเด็กบางคนมีลักษณะอาการที่พบแตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนมีอาการอยู่ไม่นิ่งหรือเด็กบางคนมีอาการอยู่นิ่ง แต่อาจจะมีอาการเหม่อลอย                อาการของ โรคสมาธิสั้น ในวัยเด็ก ส่วนมากพบว่าเด็กมักจะมีอาการเบื่อง่าย ลงมือทำสิ่งใดมักจะไม่ประสบ ความสำเร็จ ทำงานไม่รอบคอบ อยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย ดื้อซน ไม่มีสมาธิ ควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ยาก หุนหันพลันแล่นและวู่วาม อาการเหล่านี้มักจะส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ของเด็ก การทำกิจวัตรประจำวันและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้เด็กยังมีความก้าวร้าว ดื้อต่อต้านที่มีผลมาจากการถูกตำหนิและการลงโทษ                คำแนะนำของแพทย์ในการดูแลเด็กที่ป่วยด้วย โรคสมาธิสั้น นั่นคือ พ่อแม่ต้องเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับความบกพร่องของเด็ก จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ […]

Read More
โรคเด็ก

โรคสมาธิสั้น ใกล้ตัวเด็กกว่าที่คิด!!!

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น อัตราสมาธิสั้นของในประเทศไทยเราจะพบจะพบอยู่ที่ประมาณ 5-8% แต่ในทื้นที่ส่วนใหญ๋ของประเทศยังถูกมองข้ามยังไม่มีใครเหลียวแล ดังนั้นโดยภาพรวมเด็กที่เป็นสมาธิสั้นส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและยังไม่ได้รับการรักษาเท่าที่ควรจะได้รับ อาการของโรคสมาธิสั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก อาการขาดสมาธิ เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการขาดสมาธิ ทำอะไรแปบๆก็จะรู้สึกเบื่อ กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มอาการไฮเปอร์อยู่ไม่นิ่ง เด็กที่นั่งติดที่ไม่ได้ ก็อาจจะชอบลุกเดิน หรือวิ่งไปๆมาๆ กลุ่มที่สาม กล่มอาการพุนพันพลันแล่น วุ่วาม จพชอบพูดแทรกโพลงพลาง อดทนรอคอยไม่ได้และมักจะชอบแซงคิว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนอายุ 12 ปี พ่อแม่รู้สึกว่าเป็นกังวลมากเมื่อลูกเป็นโรคสมาธิสั้น เพราะว่าส่วนใหญ่เด็กที่สมาธิสั้นมักจะเล่นกับเพื่อนไม่เป็นเหมือนว่าจะชอบแกล้งเพื่อน ก็ตัดสินใจมาปรึกษาคุณหมอ และคุณหมอบอกว่าจริงๆแล้วไม่ได้แกล้งเพื่อนแต่เป็นเพราะไม่รู้น้ำหนักมือตัวเอง โดยโรคสมาธิสั้นสามารถเริ่มสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่วัยเล็กๆเลย พ่อแม่บางคนสามารถเห็นได้ตั้งแต่ 1-2 ขวบ หรือบางคนหนักกว่านั้นสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อยู่ในท้องเลยว่าทำไมเตะถีบรุนแรงบ่อยเหลือเกิน แต่โดยมากจะบอกได้ด้วยความมั่นใจว่าเด็กคนไหนเป็นสมาธิสั้นหรือไม่เป็นก็ต่อเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนอายุ 3 ขวบขึ้นไปก็จะพอบอกได้ การรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นนี้อันดับแรกคือ ด้านการใช้ยา การปรับพฤติกรรม และการปรับสิ่งแวดล้อม โดยเด็กที่เป็นโรคสมิสั้นอาการยังไม่แสดงออกมาเป็นเล็กน้อยอาจจะยังไม่ต้องถึงขั้นรับประทานยา อาจจะแค่ปรับสิ่งแวดล้อมและปรับการเลี้ยงดู แต่เด็กสมาธิสั้นที่เป็นอาการค่อนข้างรุนแรงขึ้นมาเด็กกลุ่มนี้ก็ควรที่จะรับการรักษาด้วยยา พอพูดถึงเรื่องการใช้ยาพ่อแม่หลายคนก็จะกังวลกลัวว่ายาที่ทานเข้าไปแล้วมันจะไปกดสมองเด็กหรือเปล่า จะไปบีบสมองเด็กหรือเปล่า เพราะว่าเด็กที่ซนๆพอกินยาไปแล้วจะนิ่ง ด้วยความเข้าใจของคนทั่วไปยาจะต้องเข้าไปกดสมองไว้แน่ๆ โดยความเป็นจริงแล้วกลไกการออกฤทธิ์ของยา คือยามันจะเข้าไปกระตุ้นสมองให้ผลิตสารสื่อประสาทให้สมองหลั่งออกมาดีขึ้น สารสื่อประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนกับเบรกให้กับร่างกายของเด็ก เพราะฉะนั้นยาออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองไม่ใช่ไปกดสมอง

Read More
Back To Top